วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

อารยธรรมกรีก

อารยธรรมกรีก 29/12/2010

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐาน    
อารยธรรมกรีกกำเนิดบนผืนแผ่นดินบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลอีเจียน และบริเวณหมู่เกาะต่างๆในทะเลอีเจียน สภาพภูมิประเทศของดินแดนกรีซเต็มไปด้วยภูเขาและเนินเขาซึ่งแบ่งแผ่นดิน กรีซออกเป็นที่ราบหุบเขามากมาย ภูเขาจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการติดต่อระหว่างผู้คนที่อาศัยตามที่ราบหุบเขา ต่างๆ หมู่บ้านตามหุบเขาจึงปกครองเป็นอิสระต่อกัน สภาพการเมืองในดินแดนกรีซจึงมีลักษณะแตกแยกเป็นรัฐเล็กๆ มากมาย ดินส่วนใหญ่ของกรีซเป็นดินขาดความอุดมสมบูรณ์ แม่น้ำในกรีซเป็นแม่น้ำสายสั้นๆ ในฤดูที่มีน้ำไหลมากน้ำจะไหลเชี่ยวและพัดเอาดินที่อุดมสมบูรณ์ไป พื้นที่ราบตามหุบเขาแม้มีความอุดมสมบูรณ์แต่มีพื้นที่ขนาดเล็กไม่สามารถเพาะ ปลูกได้มากนัก  สภาพภูมิศาสตร์กรีซจึงไม่สามารถผลิตพืชผลเพียงกับจำนวนพลเมือง แต่ดินแดนกรีซส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายแหลมยื่นไปในทะเล ชายฝั่งทะเลสามารถใช้เป็น อ่าวธรรมชาติสำหรับจอดเรือได้เป็นอย่างดี  ดินแดนคาบสมุทรกรีซ เป็นดินแดนที่มีทรัพยากรธรรมชาติพอสมควร ได้แก่ เหล็ก ทอง หินอ่อน  สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นของตนเอง
อารยธรรมกรีกสมัยก่อนประวัติศาสตร์
หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบได้ในบริเวณที่ราบในแค้วนทางภาคเหนือ ภาคกลางและคาบสมุทรกรีซ มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในดินแดนกรีซ พบเครื่องมือ เครื่องใช้ทำก้อนหิน เครื่องปั้นดินเผามีลวยลายประดับและมีคุณภาพ ผู้คนในดินแดนนี้ดำรงชีวิตด้วยการกสิกรรมเป็นหลัก  ลักษณะสิ่งก่อสร้างบางแหล่งมีลักษณะคล้ายป้อมการ สันนิษฐานว่าอาจมีการจัดระเบียบการปกครองในชุมชนกันแล้ว ในราว 3,00-2,000 ปี ก่อนคริศต์ศักราช บนเกาะครีตในทะเลอีเจียนรู้จักใช้โลหะ ได้แก่  ทองแดง สำริด ซึ่งเข้าใจว่าคงรับมาจากอารยธรรมอียิปต์โบราณ เนื่องจากเกาะครีตตั้งอยู่ตอนใต้สุดของกรีซ ซึ่งใต้เกาะครีตลงไป คือ โดยมีทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอยู่ระหว่างกลาง
อารยธรรมกรีกสมัยประวัติศาสตร์          
อารยธรรมกรีกเป็นอารยธรรมเก่าแก่ เรื่องราวเกี่ยวกับกรีกในระยะแรกๆ ค่อนข้างเลือนราง มีลักษณะเป็นนิยายปรับปรา จากการสำรวจค้นคว้าของนักโบราณคดี ทราบว่าอารยธรรมกรีกปรากฏครั้งแรกที่เกาะครีต ในทะเลอีเจียน ระหว่าง 1,120-800 ปีก่อนคริศต์ศักราช ถือเป็นยุคมืดของอารยธรรมกรีก การค้าขายที่เคยรุ่งเรืองในอดีตได้มีชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายแทน ชาวกรีกกลายเป็นผู้ไม่รู้หนังสือ ต้องไปยืมตัวอักษรอัฟเบตจากพวกฟินิเซียนมาดัดแปลง การปกครองของกรีกหลัง 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือที่เรียกว่ายุคคลาสสิก มีลักษณะเป็นนครรัฐ ซึ่งชาวกรีกนิยมเรีกยว่า “โพลิส” ทุกนครรัฐมีอำนาจเป็นอิสระและมีระบอบการปกครองที่แตกต่างกัน แต่ในเวลาต่อมานครรัฐต่างๆ หันมาปกครองแบบประชาธิปไตย
มรดกที่สำคัญทางศิลปวัฒนธรรมของกรีก
1. สถาปัตยกรรม  
เนื่องจกระบอบการปกครองของกรีกในยุคคลาสสิก เป็นแบบนครรัฐที่ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข งานก่อสร้าวของกรีกจึงไม่ใช่พระราชวังที่หรูหราเหมือนในสมัยไมนวน แต่จะเป็นวิหารสำหรับเทพเจ้า  เทพเจ้าของกรีกกับธรรมชาติมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ชาวกรีกซึ่งเป็นพวกที่นับถือธรรมชาติ เชื่อว่าพลังลึกลับที่มีอยู่ตามธรรมชาติสามารถให้คุณและโทษได้ อำนาจลึกลับในธรรมชาติดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพราะมีเทพเจ้าต่างๆ เป็นผู้บันดาล วิหารที่กรีกสร้างไว้บูชาต่างๆ นั้น นิยมสร้างบนเนินดินหรือภูเขาเล็กๆ ซึ่งเรียกว่า “อะครอโพลิว” วิหารที่สำคัญ ได้แก่ วิหารพาร์เธนอน  ตัวอาคารสร้างด้วยหอนอ่อน หลังคาหน่าจั่วมีเสาหินเรียงราย  ได้รับการถ่ายทอดต่อไปยังจักรวรรดิโรมัน ยุโรป และบางแห่งในทวีปเอเชีย
2. ประติมากรรม     
งานประติมากรรมของกรีกสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะธรรมชาติอย่างแท้จริง เทพเจ้าของกรีกจะมีลักษณะของมนุษยื มีอารมณ์ความรู้สึก ท่าทางการเคลื่อนไหวเหมือนจริง งานประติมากรรมของกรีกในระยะแรกได้รับอิทธิพลจากอียิปต์ซึ่งมีลักษณะหน้าตรง แข็งทื่อ  ต่อมาในสมันคลาสสิกกรีกก็สร้างงานประติมากรรมภาพเปลือย และสามารถแะสลักหินอ่อนเป็นเสื้อผ้าที่ดูพลิ้ว รสนิยมของชาวกรีกจะเริ่มเปลี่ยนไปในสมัยเฮลเลนิสติก ศิลปจะสร้างงานประติมากรรมจากสภาพมนุษย์ที่เป็นจริง  และสิ่งที่ตนเห็นไม่สวยตามแบบอุดมคติต่อไป งานประติมากรรมในยุคหลังมักแสดงให้เห็นถึงความทุกข์ยาก ความทรมาน ความเจ็บปวด และความชราของมนุษย์
3. จิตรกรร 
งานจิตรกรรมบนภาชนะของใช้ต่างๆ ที่ทำจากเครื่องปั้นดินเผา เช่น ไหเหล้า โถเหล้า แก้วเหล้า จริตกรรมได้พัฒนาลวดลายโบราณที่คล้ายเรขาคณิตของเมโสโปเตเมีย ภาพที่นิยมวาดในตอนแรกมักเป็นรูปสัตย์เป็นส่วนใหญ่  ลวดลาบเหล่านี้มีความสวยงาม กลมกลืนและประณีต ในยุคเฮลเลนิสติก กรีกได้คนพบเทคนิคใหม่ในการวาดภาพประดับฝาผนังขนาดใหญ่โดยใช้หินหรือ กระเบื้องสีมาประดับ เรียกว่า ” โมเสก”
4. นาฎกรรม                                          
ด้วยความเชื่อและศรัทธาในเทพเจ้าของชาวกรีกได้มีผลกระทบต่องานสร้างสรรค์ ศิลปะแขนงนาฆกรรมหรือการละคร  การแสดงของกรีกใช้นักแสดงชายทั้งหมด โดยทุกคนจะสวมหน้ากากและมีผู้พากย์และหมู่ร้อง ส่งเสียงประกอบ เวทีการแสดงเป็นโรงละครกลางแจ้ มีอัฒจันทร์ล้อมรอบ
5.วรรณกรรม
กรีกก็ยังมีงานประพันธ์อื่นๆ ที่ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ งานประพันธ์ดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการเริ่งต้นหรือจุดกำเนินของวิชาปรับญาและ ประวัติศาสตร์ ซึ่งได้แก่ งานประเภทปรัชญานิพนธ์ของโซเครตีส และอริสโตเติล เฮโรโดตุส และธูซิดีดีส  นอกจากนี้กรีกยังได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำในการวางรากฐานให้แก่ระบอบการ ปกครองแบบประชาธิปไตยที่ให้สิทธิแก่ประชาชนในการปกครอง  กลายเป็นมรดกที่สำคัญที่ชาวกรีกมอบให้แก่ชาวโลกตะวันตก  โดยมีชาวดรมันเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด แม้เป็นปัจจุบันโลกทัศน์ของชาวตะวันตกจะเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ของกรีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านศิลปะ ก็ยังคงได้รับการยกย่องอย่างสูงสุด และถือเป็น แม่แบบ ของความเจริญและอารยธรรมตะวันตกอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น