วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ปางพระพุทธรูป

ปางพระพุทธรูป

 

ประวัติการสร้างพระพุทธรูป
   ในระยะแรกหลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนก็ได้นำเอา ดิน น้ำ และใบโพธิ์จากสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน) ตรัสรู้ (พุทธคยา) ปฐมเทศนา (พาราณสี) และ ปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้เพื่อบูชาคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมามีการสร้างรูปอื่นที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ เช่น ทำดวงตราสัญลักษณ์ประจำสถานที่ต่างๆ ขึ้น ด้วยดินเผาหรือแผ่นเงิน เช่นที่เมืองกบิลพัสดุ์สร้างตราดอกบัว หมายถึงมีสิ่งบริสุทธิ์เกิดขึ้น และตราม้า หมายถึงม้ากัณฐกะ ที่เมืองพาราณสีสร้างตราธรรมจักร มีรูปกวางหมอบอันหมายถึงการแสดงธรรมจักร และพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างเสาหินอโศกไว้ในสถานที่ประสูติ เป็นต้น
    ส่วนการสร้างพระพุทธรูปมีประวัติความเป็นมาดังนี้ คือ ตามตำนานพุทธประวิติกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนธิโกศลแห่งแคว้นโกศล ได้โปรดให้ช่างจำหลักพระรูปเหมือนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นจากไม้แก่นจันทร์ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์ที่เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก แต่ตำนานพระแก่นจันทร์นี้ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพียงตำนานที่ยังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้อย่างชัดเจน ถ้าไม่นับพระแก่นจันทร์ก็สันนิษฐานกันว่า พระพุทธรูปนั้น เริ่มสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๗ ตั้งแต่สมัยคันธารราฐ ซึ่งเป็นแคว้นที่อยทางตอนู่เหนือ ของอินเดียโบราณ (ปัจจุบันอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและตะวันออกของอัฟกานอสถาน) ผู่ริเริ่มสร้างไม่ใช่ชาวอินเดียแต่เป็นพวกโยนก (กรีก) สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์หรือพระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีกแห่งแคว้นคันธาระ หรือคันธาราฐ
   เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในคันธาราฐ พวกโยนกยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้ามิลินท์มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก แสดงองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจิริญรุ่งเรือง แต่เดิมนั้นพระพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด เพราะในสมัยอินเดียในสมัยนั้นมีข้อห้ามในการทำรูปเคารพ แต่เคยนับถือศาสนเทวนิยมและจำหลักรูปเคารพของเทพเจ้ากลุ่มโอลิมปัสมาก่อน เช่น รูปอพอลโลและซีอุส เมื่อเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ก็เลยจำหลักศิลารูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นเคารพบูชาเป็นครั้งแรก

พระพุทธรูปปางต่างๆ
๑.ปางประสูติ๒.ปางมหาภิเนษกรมณ์๓.ปางตัดพระเมาลี
๔.ปางอธิฐานเพศบรรพชิต๕.ปางปัจเจกขณะ๖.ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา
๗.ปางทรงพระสุบิน๘.ปางรับมธุปายาส๙.ปางเสวยมธุปายาส
๑๐.ปางเสี่ยงบารมีลอยถาด๑๑.ปางรับหญ้าคา๑๒.ปางสมาธิเพชร
๑๓.ปางมารวิชัย๑๔.ปางสมาธิหรือปางตรัสรู้๑๕.ปางถวายเนตร
๑๖.ปางจงกรมแก้ว๑๗.ปางเรือนแก้ว๑๘.ปางห้ามมาร
๑๙.ปางนาคปรก๒๐.ปางฉันผลสมอ๒๑.ปางประสานบาตร
๒๒.ปางรับสัตตุก้อนสัตตุผง๒๓.ปางพระเกศธาตุ๒๔.ปางรำพึง
๒๕.ปางปฐมเทศนา๒๖.ปางประทานเอหิภิกขุ๒๗.ปางภัตกิจ
๒๘.ปางห้ามสมุทร๒๙.ปางห้ามญาติ๓๐.ปางปลงกัมมัฏฐาน
๓๑.ปางชี้อัครสาวก๓๒.ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข๓๓.ปางประทับเรือ
๓๔.ปางห้ามพยาธิ๓๕.ปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์๓๖.ปางอุ้มบาตร
๓๗.ปางโปรดพุทธบิดา๓๘.ปางรับผลมะม่วง๓๙.ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์
๔๐.ปางโปรดพุทธมารดา๔๑.ปางเปิดโลก๔๒.ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
๔๓.ปางลีลา๔๔.ปางห้ามแก่นจันทร์๔๕.ปางพระอิริยาบถยืน
๔๖.ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท๔๗.ปางสรงน้ำฝน๔๘.ปางขอฝน (นั่ง)
๔๙.ปางขอฝน (ยืน)๕๐.ปางชี้อสุภะ๕๑.ปางชี้มาร
๕๒.ปางปฐมบัญญัติ๕๓.ปางขับพระวักกลิ๕๔.ปางสนเข็ม
๕๕.ปางประทานพร (นั่ง)๕๖.ปางประทานพร (ยืน)๕๗.ปางประทานธรรม
๕๘.ประทานอภัย (นั่ง)๕๙.ปางโปรดพญาช้างนาฬาคิรี๖๐.ปางโปรดพญาชมพูบดี
๖๑.ปางปาลิไลก์๖๒.ปางแสดงโอฬาริกนิมิตร๖๓.ปางโปรดอสุรินทราหู
๖๔.ปางโปรดอาฬวกยักษ์๖๕.ปางโปรดองคุลีมารโจร๖๖.ปางโปรดพกาพรหรม
๖๗.ปางพิจารณาชราธรรม๖๘.ปางปลงอายุสังขาร๖๙.ปางนาคาวโลก
๗๐.ปางทรงรับอุทกัง๗๑.ปางทรงพยากรณ์๗๒.ปางโปรดสุภัททปริพาชก
๗๓.ปางปรินิพพาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น