วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

จังหวัดเชียงใหม่


จังหวัดเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดเชียงใหม่
ตราประจำจังหวัดเชียงใหม่ตราผ้าพันคอลูกเสือจังหวัดเชียงใหม่
ตราประจำจังหวัดตราผ้าผูกคอลูกเสือ
ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า
บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทยเชียงใหม่
ชื่ออักษรโรมันChiang Mai
ชื่อไทยอื่นๆนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
รัตนติงสาอภินวบุรีเชียงใหม่
ผู้ว่าราชการหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2553)
ISO 3166-2TH-50
สีประจำกลุ่มจังหวัด███ สีฟ้าเข้ม
ต้นไม้ประจำจังหวัดทองกวาว
ดอกไม้ประจำจังหวัดทองกวาว
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่20,107.057 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 2)
ประชากร1,640,479 คน[2] (พ.ศ. 2553)
(อันดับที่ 5)
ความหนาแน่น81.19 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 54)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์(+66) 0-5311-2713
เว็บไซต์จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดเชียงใหม่

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ และมีจำนวนประชากรประมาณ 1.63 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยที่อำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ
จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาในระดับสูง มีศักยภาพในการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และการลงทุน จนเป็นเมืองเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ รองจากกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมากมาย มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนาในสมัยโบราณ มีภาษาล้านนา (คำเมือง) เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกับจังหวัดอื่น ๆ ทั้งด้านประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม
พ.ศ. 2553 ผู้ว่าจังหวัดเชียงใหม่แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองสร้างสรรค์[3] และทางคณะกรรมการกำลังพิจรนาการสมัครที่ UNESCO เพื่อเป็น เมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO[4]

[แก้]ประวัติศาสตร์

เมืองเชียงใหม่ มีชื่อปรากฏในตำนานว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ซึ่งเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1839 โดยพญามังราย
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง
ในอดีตเชียงใหม่มีฐานะเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ชื่อว่า อาณาจักรล้านนา ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839-พ.ศ. 2101) แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนอง พระมหากษัตริย์พม่า และได้ถูกปกครองโดยพม่ามานานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน
หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละ ขึ้นเป็น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ โดยให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของกรุงรัตนโกสินร์ และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมา และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "รัตนติงสาอภินวบุรีเชียงใหม่"
ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช โดยมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า "มณฑลพายัพ" หรือมณฑลลาวเฉียง ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและยกฐานะขึ้นเป็น "จังหวัด" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปัจจุบัน

[แก้]ภูมิศาสตร์

[แก้]ที่ตั้ง

จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 320 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร[5]

[แก้]อาณาเขตติดต่อ

จังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าเพียงประเทศเดียว และมีพื้นที่ติดต่อใน 5 อำเภอได้แก่ อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง อำเภอไชยปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 227 กิโลเมตร พื้นที่เขตแดนส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ทำให้ไม่สามารถปักหลักเขตแดนได้อย่างชัดเจน จึงเกิดปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศบ่อยครั้ง

[แก้]ภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศของจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขา
จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 12,566,911 ไร่ มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ 2,565.3355 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,170 เมตร ดอยสุเทพ สูง 1,601 เมตร สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
  1. พื้นที่ภูเขา ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ และทิศตะวันตกของจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80% ของพื้นที่จังหวัด เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก
  2. พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง ลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร

[แก้]ภูมิอากาศ

เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

[แก้]ทรัพยากร

[แก้]ทรัพยากรป่าไม้

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
จังหวัดเชียงใหม่มีป่าไม้หลายประเภท ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมป่าสนเขา และป่าแดง เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ ประกอบด้วย ป่าธรรมชาติ สวนป่า และป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ โดยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 11,694,133 ไร่ (พื้นที่ป่าตามกฎหมาย) คิดเป็นร้อยละ 69.93 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด แบ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 25 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 13 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง อุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่
นอกจากนี้จังหวัดเชียงใหม่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้เกิดขึ้นเป็นประจำ สาเหตุสำคัญเช่น การลักลอบตัดไม้ การบุกรุกเพื่อทำการเกษร และไฟป่า

[แก้]ทรัพยากรสัตว์ป่า

พื้นที่ป่าในจังหวัด มีความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่าสำคัญที่พบ ได้แก่ เลียงผา หมูป่า หมาจิ้งจอก เสือดาว อีเห็น ชะมด พังพอน ชะนี ลิง เม่น แมวป่า หมูหริ่ง กระต่ายป่า ตะกวด กิ้งก่า งู ตุ๊กแก ด้วง บึ้ง ไก่ป่า นกขมิ้น นกกระรางหัวขวาน นกกระขาบทุ่ง นกขุนทอง นกขุนแผน นกบั่งรอก นกกางเขน นกกาเหว่า นกเขียวคราม นกกระติ๊ต นกกระจิบ นกกระจาบ นกปรอด นกระวังไพร นกแซงแซว นกโพระดก นกนางแอ่น นกคุ่ม นกเขาเขียวนกเขาใหญ่ นกเขาขวาน นกเอี้ยง นกกระปูด เป็นต้น

[แก้]ทรัพยากรน้ำ

แม่น้ำกก ในอำเภอแม่อาย
จังหวัดเชียงใหม่มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำปิง และยังมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตงและยังแบ่งตามพื้นที่ลุ่มน้ำดังนี้
  • ลุ่มน้ำปิงตอนบน เป็นลุ่มน้ำที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือตอนบน เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำปิง มีพื้นที่ 25,355.9 ตร.กม. สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันสูง วางตัวแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เสี่ยงต่อแผ่นดินถล่มและการชะล้างพังทลายของดินสูง ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบสะวันนา คือ มีฤดูฝนสลับกับฤดูแล้งอย่างชัดเจน และยังมีลุ่มน้ำย่อยอีก 14 ลุ่มน้ำย่อย แม่น้ำที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำปิง แม่แตง แม่กวง แม่งัด แม่แจ่ม แม่ขาน และแม่ตื่น
  • ลุ่มน้ำกก มีแม่น้ำกกเป็นแม่น้ำสายหลัก มีต้นกำเนิดจากภูเขาในประเทศพม่า ไหลผ่านเมืองกก เมืองสาด ประเทศพม่า เข้าเขตประเทศไทยที่ช่องน้ำกก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลเข้าสู่จังหวัดเชียงราย ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่ 2,773 ตร.กม.
  • ลุ่มน้ำฝาง มีแม่น้ำฝางเป็นแม่น้ำสายหลัก ซึ่งมีต้นกำเนิดจากดอยขุนห้วยฝางและดอยหัวโท ทางตอนใต้ของอำเภอไชยปราการ ไหลลงสู่แม่น้ำกก มีความยาวลำน้ำประมาณ 70 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,948.5 ตร.กม. ในอำเภอไชยปราการ ฝาง และแม่อาย

[แก้]ทรัพยากรธรณี

จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่สำคัญของประเทศ ทำให้ได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้ง โดยครั้งที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ขนาด 5.1 ริกเตอร์ มีจุดศูนย์กลางในอำเภอแม่ริม ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยในบริเวณอำเภอแม่ริมและอำเภอข้างเคียง ส่วนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรณี มีการผลิตแร่ที่สำคัญ 8 ชนิด ได้แก่ ถ่านหินเฟลด์สปาร์ (แร่ฟันม้า) แมงกานีส ชีไลต์ ดีบุก ดินขาว ฟลูออไรด์ และแร่หินอุตสาหกรรม และจังหวัดเชียงใหม่ยังมีแหล่งทรัพยากรธรณีที่สำคัญ เช่น แหล่งปิโตรเลียม อำเภอฝาง สภาพทางธรณีวิทยาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ บ่อน้ำพุร้อน อำเภอสันกำแพงและอำเภอฝาง โป่งเดือด อำเภอแม่แตง บ่อน้ำแร่ธรรมชาติ อำเภอแม่ริม เป็นต้น
แผ่นดินไหวในอดีตที่มีศูนย์กลางอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ (ขนาดมากกว่า 4.0 ริกเตอร์)
วันเดือนพ.ศ.เวลาขนาดศูนย์กลางพิกัด
26 พฤษภาคม252106:22:29 น.4.8 Mwอ.พร้าว19°27' N 99°06' E
10 กุมภาพันธ์252309:17:52 น.4.2 Mwจ.เชียงใหม่19°35' N 99°23' E
20 มิถุนายน252520:20:40 น.4.3 Mwจ.เชียงใหม่18°92' N 99°18' E
19 กุมภาพันธ์253101:38:42 น.4.2 Mwจ.เชียงใหม่18°87' N 99°17' E
8 พฤษภาคม253702:56:00 น.4.5 Mwจ.เชียงใหม่18°30' N 99°20' E
5 พฤศจิกายน253806:57:00 น.4.0 Mwอ.ฝาง19°70' N 98°60' E
21 ธันวาคม253823:30:00 น.5.2 Mwอ.พร้าว19°70' N 99°00' E
13 กรกฎาคม254109:20:00 น.4.1 Mwอ.ฝาง19°70' N 99°10' E
18 ธันวาคม254520:47:00 น.4.3 Mwอ. เชียงดาว19°40' N 99°10' E
4 ธันวาคม254816.34 น.4.1 Mwอ.แม่วาง18°70' N 98°50' E
13 ธันวาคม254900.02 น.5.1 Mwอ.แม่ริม18°93' N 98°97' E
19 มิถุนายน255012.06 น.4.5 Mwอ.แม่ริม18°90' N 99°00' E
แหล่งข้อมูล: [6] สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา

[แก้]การปกครอง

[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค

จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 204 ตำบล 2,066 หมู่บ้าน
อำเภอ
  1. อำเภอเมืองเชียงใหม่
  2. อำเภอจอมทอง
  3. อำเภอแม่แจ่ม
  4. อำเภอเชียงดาว
  5. อำเภอดอยสะเก็ด
  6. อำเภอแม่แตง
  7. อำเภอแม่ริม
  8. อำเภอสะเมิง
  9. อำเภอฝาง
  10. อำเภอแม่อาย
  11. อำเภอพร้าว
  12. อำเภอสันป่าตอง
  13. อำเภอสันกำแพง
  1. อำเภอสันทราย
  2. อำเภอหางดง
  3. อำเภอฮอด
  4. อำเภอดอยเต่า
  5. อำเภออมก๋อย
  6. อำเภอสารภี
  7. อำเภอเวียงแหง
  8. อำเภอไชยปราการ
  9. อำเภอแม่วาง
  10. อำเภอแม่ออน
  11. อำเภอดอยหล่อ
  12. อำเภอกัลยาณิวัฒนา
 แผนที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น