วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

จังหวัดกรุงเทพมหานคร


กรุงเทพมหานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุงเทพมหานคร
ตราประจำกรุงเทพมหานคร
ตราประจำกรุงเทพมหานคร
'
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทยกรุงเทพมหานคร
ชื่ออักษรโรมันBangkok หรือ Krung Thep Maha Nakhon
ผู้ว่าราชการหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2TH-10
สีประจำกรุงเทพมหานครเขียว ███
ต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานครไทรย้อยใบแหลม
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่1,568.737 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 69)
ประชากร5,701,394 คน[2] (พ.ศ. 2553)
(อันดับที่ 1)
ความหนาแน่น3,635.15 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 1)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้งศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เลขที่ 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนครกรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์(+66) 0 2221 2141-69
เว็บไซต์กรุงเทพมหานคร
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นกรุงเทพมหานคร

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง และเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย[2] รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกอีกด้วย มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ทำให้แบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี โดยกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตร
กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด ซึ่งคำว่า กรุงเทพมหานคร นั้น ยังใช้เป็นคำเรียกสำนักงานปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
อิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นของไทยในการเมืองโลก วัฒนธรรม แฟชั่นและการบันเทิงทำให้กรุงเทพมหานครได้รับสถานะเป็นนครโลกระดับอัลฟา[3] กรุงเทพมหานครมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆและวัดต่าง ๆ ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 10 ล้านคนในแต่ละปี นับเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากที่สุดรองแต่เพียงกรุงลอนดอนเท่านั้น[4]
ในสมัยอาณาจักรอยุธยา บางกอก (กรุงเทพมหานคร) ยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ชื่อว่ากรุงธนบุรี และในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ได้ชื่อว่า กรุงรัตนโกสินทร์

เนื้อหา

 [ซ่อน]

[แก้]ชื่อเมือง

คำว่า กรุงเทพมหานคร แปลว่า "พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร" มาจากชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์[5] มีความหมายว่า พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้[6]
โดยนามเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ พระราชทานในตอนแรกนั้น ใช้ชื่อว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” ต่อมาในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มาของชื่อเต็มของกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) ข้างต้น[6]
ชื่อทางการของกรุงเทพมหานครเมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krung Thep Maha Nakhon แต่คนทั่วไปนิยมทับศัพท์ตามชื่อที่ผู้พูดภาษาอังกฤษเรียกเมืองนี้ว่า Bangkok ซึ่งมาจากชื่อเดิมของกรุงเทพมหานคร คือ บางกอก
กรุงเทพมหานครได้ชื่อว่าเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกบันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ก แปลความเป็นภาษาอังกฤษว่า "Great City of Angels,the Supreme Repository for Divine Jewel,the Great Land Unconquerable,the Grand and Prominent Realm,the Royal and Delightful Capital City full of Nine Noble Gems,the Highest Royal Dwelling and Grand Palace,the Divine Shelter and Living Place of the Reincarnated Spirit"[ต้องการอ้างอิง]
ชื่อเต็มของกรุงเทพมหานคร เมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krungthepmahanakhon Amonrattanakosin Mahintharayutthaya Mahadilokphop Noppharatratchathaniburirom Udomratchaniwetmahasathan Amonphimanawatansathit Sakkathattiyawitsanukamprasit[5] ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ที่ยาวที่สุดในโลกและได้จดบันทึกไว้ในกินเนสบุ๊ค[7] (169 ตัวอักษร) ยาวกว่าชื่อภูเขา "ตาอูมาตาวากาตังกีฮังกาโกอาอูอาอูโอตามาทีอาโปกาอีเวนูอากีตานาตาฮู" ("Taumatawhakatangihangakoauauotamateaturipukakapikimaungahoronukupokaiwhenuakitanatahu") (85 ตัวอักษร) ในนิวซีแลนด์ และชื่อทะเลสาบ "ชาร์ก็อกกาก็อกมานชาอ็อกกาก็อกเชาบูนากุนกามาอัก" ("Chargoggagogg­manchauggagogg­chaubunagungamaugg") (45 ตัวอักษร) ในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

[แก้]ประวัติ

กรุงเทพมหานครริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก" มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[8] มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ เป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีกับเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทยเรียกกันว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง[8]
ที่มาของคำว่า "บางกอก" นั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" โดยคำว่า "บางมะกอก" มาจากวัดอรุณ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัดดังกล่าว และต่อมาต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่าบางกอก[8][9]
ต่อมาเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 หลังการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ คือ กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313[8] แต่กรุงธนบุรีมีสภาพเป็นเมืองอกแตก ตรงกลางมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เป็นเหตุให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) มีความคิดจะย้ายเมืองไปทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้การป้องกันรักษาเมืองเป็นไปได้โดยง่าย[8]
ทิวทัศน์ยามค่ำคืนของกรุงเทพมหานคร
เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา[8]
พระองค์มีพระบรมราชโองการให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่ดินเพื่อสร้างพระนครใหม่ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 9 บาท (54 นาที) ปีขาล จ.ศ. 1144 จัตวาศก ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.54 น.[8] และทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325[8]
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น "จังหวัดพระนคร"[ต้องการอ้างอิง]
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนใหม่ขึ้น และเปลี่ยนรูปแบบผังเมืองกรุงเทพมหานครเฉกเช่นอารยประเทศ เนื่องจากในสมัยนั้นสยามประเทศถูกคุกคามจากมหาอำนาจยุโรป และตรงจุดนี้เป็นหนึ่งในข้ออ้างที่มหาอำนาจนำมาใช้เพื่อแทรกแซงและคุกคามสยามประเทศ ภายหลัง ต่างชาติยุโรปเองได้ยอมรับกรุงเทพมหานครว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่มีผังเมืองงดงามที่สุดในโลกในสมัยนั้น[10]
ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี[11] และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพฯ[12]
ใน พ.ศ. 2552 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองค่าครองชีพสูงสุดอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากสิงคโปร์[13]
ในปี พ.ศ.2554 กรุงเทพมหานครได้รับการประกาศจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นเมืองหนังสือโลก หรือ World Book Capital ประจำปีพ.ศ.2556[14] และมีค่าครองชีพสูงเป็นอันดับที่ 66 ของโลก[15]

[แก้]การปกครอง

ตราประจำจังหวัดพระนคร
กรุงเทพมหานครมีลักษณะเป็นเขตการปกครองพิเศษตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้ง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง การดำเนินงานมีสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงทำงานร่วมด้วย
ผู้ว่าราชการกรุงเทพคนปัจจุบัน คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และปลัดกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันคือ นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์

[แก้]การปกครอง 50 เขต

50 เขตทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร
  1. เขตพระนคร
  2. เขตดุสิต
  3. เขตหนองจอก
  4. เขตบางรัก
  5. เขตบางเขน
  6. เขตบางกะปิ
  7. เขตปทุมวัน
  8. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
  9. เขตพระโขนง
  10. เขตมีนบุรี
  11. เขตลาดกระบัง
  12. เขตยานนาวา
  13. เขตสัมพันธวงศ์
  14. เขตพญาไท
  15. เขตธนบุรี
  16. เขตบางกอกใหญ่
  17. เขตห้วยขวาง
  18. เขตคลองสาน
  19. เขตตลิ่งชัน
  20. เขตบางกอกน้อย
  21. เขตบางขุนเทียน
  22. เขตภาษีเจริญ
  23. เขตหนองแขม
  24. เขตราษฎร์บูรณะ
  25. เขตบางพลัด
  1. เขตดินแดง
  2. เขตบึงกุ่ม
  3. เขตสาทร
  4. เขตบางซื่อ
  5. เขตจตุจักร
  6. เขตบางคอแหลม
  7. เขตประเวศ
  8. เขตคลองเตย
  9. เขตสวนหลวง
  10. เขตจอมทอง
  11. เขตดอนเมือง
  12. เขตราชเทวี
  13. เขตลาดพร้าว
  14. เขตวัฒนา
  15. เขตบางแค
  16. เขตหลักสี่
  17. เขตสายไหม
  18. เขตคันนายาว
  19. เขตสะพานสูง
  20. เขตวังทองหลาง
  21. เขตคลองสามวา
  22. เขตบางนา
  23. เขตทวีวัฒนา
  24. เขตทุ่งครุ
  25. เขตบางบอน
 แผนที่

[แก้]เศรษฐกิจ

การท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยซึ่งสร้างจีดีพีประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์[ต้องการอ้างอิง] กรุงเทพฯ เป็นประตูสู่สากลหลักของประเทศไทย ตลาดใหญ่นี้ทำให้กรุงเทพฯ เป็นทำเลหลักสำหรับการทำโรงแรมรวมทั้งกิจการที่พักขนาดเล็กและกลาง

[แก้]สัญลักษณ์ประจำกรุงเทพมหานคร

[แก้]อาณาเขตติดต่อ

กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตทางบกติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนอาณาเขตทางทะเลอ่าวไทยตอนใน ติดต่อจังหวัดเพชรบุรีจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดชลบุรี โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี
  • ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
  • ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการ และอ่าวไทย (ส่วนที่เป็นอ่าวไทยที่เป็นพื้นที่เดิมของจังหวัดธนบุรี ปัจจุบันคือเขตบางขุนเทียน ซึ่งมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อทางอ่าวไทยกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ จุดที่อยู่ใต้สุดอยู่ที่ละติจูด 13 องศา 13 ลิปดา 00 ฟิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา 27 ลิปดา 30 ฟิลิปดาตะวันออก ซึ่งเป็นการแบ่งตามพระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502)
  • ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม

[แก้]ภูมิอากาศ

แผนภูมิแสดงลักษณะภูมิอากาศในรอบปี ของกรุงเทพมหานคร
ม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.
 
 
9
 
32
21
 
 
30
 
33
23
 
 
29
 
34
25
 
 
65
 
35
26
 
 
220
 
34
26
 
 
149
 
33
25
 
 
154
 
33
25
 
 
197
 
33
25
 
 
344
 
32
25
 
 
242
 
32
24
 
 
48
 
32
23
 
 
10
 
31
21
อุณหภูมิ วัดเป็นองศาเซลเซียส • ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นมิลลิเมตร
ที่มา: อุณหภูมิและปริมาณฝนกรุงเทพมหานครค่าเฉลี่ย30ปี[18]
กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตร้อน มีภูมิอากาศร้อนแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามเกณฑ์การแบ่งภูมิอากาศโลกของวลาดีมีร์ เคิปเปิน คืออุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนที่หนาวเย็นที่สุดสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส มีอย่างน้อย 1 เดือนที่ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 60 มิลลิเมตร และเดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุด จะมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 100 ลบปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี หารด้วย 25 [19]นั่นก็คือเป็นภูมิอากาศแบบมีฤดูฝนและฤดูแล้ง
อากาศของกรุงเทพมหานครได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (กลางเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม) และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (พฤศจิกายน-กลางเดือนกุมภาพันธ์) โดยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดเอาไอน้ำและความอุ่นชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาด้วย ทำให้มีฝนตกในช่วงบ่ายถึงค่ำอย่างสม่ำเสมอ และยังก่อให้เกิดร่องมรสุมพาดผ่านในเดือนพฤษภาคมกับเดือนกันยายน ซึ่งทำให้มีฝนตกหนักกว่าปกติ แต่ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ร่องมรสุมนี้จะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านทางเหนือ จนถึงมณฑลหยุนหนานของจีน ทำให้ฝนตกน้อยลง เดือนพฤศจิกายน เมื่อซีกโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์ หย่อมความกดอากาศสูงในเขตไซบีเรียจะแผ่ออกไปโดยรอบ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดเอาความแห้งแล้งและหนาวเย็นมา ทำให้อากาศเย็นและแห้ง ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีเมฆและฝนตก อุณหภูมิต่ำสุดของกรุงเทพฯที่เคยบันทึกได้คือ 9.9 องศาเซลเซียสที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2498 [20] ครึ่งหลังของเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะอ่อนกำลังลง เป็นการเปลี่ยนเข้าสู่หน้าร้อน อากาศในตอนกลางวันจะร้อนขึ้นมาก ทำให้บนบกร้อนกว่าพื้นน้ำมาก ลมจากอ่าวไทยจะพัดเข้าสู่บกเป็นระยะ ๆ เรียกลมนี้ว่าลมตะเภา [21] ซึ่งจะนำฝนมาตกหลังจากอากาศร้อนหลาย ๆ วัน และในช่วงวันที่ 25-30 เมษายนของทุกปี ดวงอาทิตย์จะส่องตั้งฉากกับกรุงเทพมหานครพอดี เป็นช่วงที่อากาศร้อนที่สุด อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึกได้คือ 40.8 องศาเซลเซียสที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 [22] กรุงเทพจะมีกลางวันยาวนานที่สุดราว ๆ วันที่ 23 มิถุนายน (12.55 ชั่วโมง) สั้นที่สุดราว ๆ 21 ธันวาคม (11.20 ชั่วโมง) และกลางวันเท่ากับกลางคืนประมาณเดือนมีนาคมกับกันยายน [23]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น