วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

จังหวัดกาฬสินธุ์


จังหวัดกาฬสินธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดกาฬสินธุ์
ตราประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ตราผ้าพันคอลูกเสือจังหวัดกาฬสินธุ์
ตราประจำจังหวัดตราผ้าผูกคอลูกเสือ
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ด้านหน้า เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ด้านหลัง
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด
เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา
ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว
ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทยกาฬสินธุ์
ชื่ออักษรโรมันKalasin
ชื่อไทยอื่นๆเมืองน้ำดำ
ผู้ว่าราชการนายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2TH-46
ต้นไม้ประจำจังหวัดมะหาด
ดอกไม้ประจำจังหวัดพะยอม
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่6,946.746 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 28)
ประชากร982,578 คน[2] (พ.ศ. 2553)
(อันดับที่ 23)
ความหนาแน่น141.10 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 28)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ ถนนกาฬสินธุ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
โทรศัพท์(+66) 0 4381 3215
โทรสาร(+66) 0 4381 1620
เว็บไซต์จังหวัดกาฬสินธุ์
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดกาฬสินธุ์

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นับเป็นเมืองโบราณอีกแห่งหนึ่ง โดยมีหลักฐานแสดงอารยธรรมเก่าแก่กว่า 1,600 ปี และยังมีแหล่งซากไดโนเสาร์หลายแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงด้านโปงลาง

เนื้อหา

 [ซ่อน]

[แก้]อาณาเขตติดต่อ

กาฬสินธุ์ มีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

[แก้]ประวัติ

ตามบันทึกประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ในปี พ.ศ. 2336 บ้านแก่งสำโรงได้รับการสถาปนาเป็น เมืองกาฬสินธุ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชหลังจากเจ้าโสมพะมิตรเข้าเฝ้าฯ ถวายสวามิภักดิ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งขึ้นเป็น "พระยาไชยสุนทร" เจ้าเมืองท่านแรกโดยให้รั้งเมืองสืบไป
เมื่อ พ.ศ. 2437 เมื่อพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) เป็นเจ้าเมือง มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแบบให้เจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มาเป็นรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล มีมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ คือ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นเป็นมณฑล ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด และมีอำนาจปกครองอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด โดยให้พระภิรมย์บุรีรักษ์เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
ต่อมาเกิดข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ การเงินฝืดเคือง จำเป็นต้องยุบจังหวัดต่าง ๆ ลงเพื่อให้สมดุลกับรายได้ของประเทศ จังหวัดกาฬสินธุ์จึงถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอรรถเปศลสรวดี เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม (แทนพระยามหาสารคามคณาภิบาลซึ่งออกรับบำนาญ) ครั้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑล
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ได้ยกฐานะเป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" จนถึงปัจจุบัน

[แก้]หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 135 ตำบล 1584 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
  2. อำเภอนามน
  3. อำเภอกมลาไสย
  4. อำเภอร่องคำ
  5. อำเภอกุฉินารายณ์
  6. อำเภอเขาวง
  7. อำเภอยางตลาด
  8. อำเภอห้วยเม็ก
  9. อำเภอสหัสขันธ์
  10. อำเภอคำม่วง
  11. อำเภอท่าคันโท
  12. อำเภอหนองกุงศรี
  13. อำเภอสมเด็จ
  14. อำเภอห้วยผึ้ง
  15. อำเภอสามชัย
  16. อำเภอนาคู
  17. อำเภอดอนจาน
  18. อำเภอฆ้องชัย
แผนที่

[แก้]สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพะยอม (Shorea roxburghii)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะหาด (Artoccarpus lacucha)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี

[แก้]รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์
รายนามวาระการดำรงตำแหน่ง
1. พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) ผู้ก่อตั้งเมืองและเจ้าเมืององค์แรกพ.ศ. 2336 - 2349
2. พระยาชัยสุนทร (หมาแพง)พ.ศ. 2349 - 2369
3. พระยาชัยสุนทร (เจียม)พ.ศ. 2371 - 2382
4. พระยาชัยสุนทร (หล้า)พ.ศ. 2383 - 2388
5. พระยาชัยสุนทร (ทอง)(พ.ศ. 2389 - 2394
6. พระยาชัยสุนทร (จารย์ละ)พ.ศ. 2394 - 2395
7. พระยาชัยสุนทร (กิ่ง)พ.ศ. 2395 - 2411
8. พระยาชัยสุนทร (หนู)พ.ศ. 2411 - 2420
9. พระยาชัยสุนทร (นนท์)พ.ศ. 2420 - 2425
10. พระยาชัยสุนทร (พั้ว)พ.ศ. 2425 - 2433
11. พระยาชัยสุนทร (เก)พ.ศ. 2433 - 2437
12. พระยาชัยสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ)พ.ศ. 2437 - 2444
13. หลวงอภัยพ.ศ. 2444 - 2455
14. พระยาชัยสุนทร (ปุย อินทรตุล)พ.ศ. 2455 - 2461
15. พระยาชัยสุนทรภักดีพ.ศ. 2461 - 2474
16. พระเสน่หามนตรีพ.ศ. 2474 - 2483
17. พระอรรถเปศลสรวดีพ.ศ. 2483 - 2490
18. ขุนบริบาลบรรพตเขตพ.ศ. 2490 - 2492
19. ขุนรัตนวรพงศ์พ.ศ. 2492 - 2493
20. นายปลั่ง ทัศนประดิษฐ์พ.ศ. 2493 - 2496
21. ขุนบุราษฎรนราภัยพ.ศ. 2496 - 2497
22. นายเชวง ไสยสุตพ.ศ. 2497 - 2499
23. นายพร บุญยประสบพ.ศ. 2500 - 2502
24. นายเลื่อน ไขแสงพ.ศ. 2502 - 2509
25. นายบุรี พรหมลักขโณพ.ศ. 2509 - 2513
26. นายสง่า จันทรสาขาพ.ศ. 2513 - 2515
27. นายวิเชียร เวชสวรรค์พ.ศ. 2515 - 2516
28. นายดำรง วชิโรดมพ.ศ. 2516 - 2519
29. นายอรุณ ปุสเทพพ.ศ. 2519 - 2521
30. นายกรี รอดคำดีพ.ศ. 2521 - 2523
31. นายประกิต พิณเจริญพ.ศ. 2523 - 2527
32. นายสนอง รอดโพธิ์ทองพ.ศ. 2527 - 2528
33. ร.ต.ปฏิภาณ จูฑะพุทธิพ.ศ. 2528 - 2531
34. ร.ต.วัฒนา สูตรสุวรรณพ.ศ. 2531 - 2533
35. พ.ต.ดาวเรือง นิชรัตน์พ.ศ. 2533 - 2535
36. นายสนิทวงศ์ อุเทศนันทน์พ.ศ. 2535 - 2538
37. นายชวพงษ์ วัฒนสินธุ์พ.ศ. 2538 - 2540
38. นายประสิทธิ์ พรรณพิสุทธิ์พ.ศ. 2540 - 2541
39. นายวีระ เสรีรัตน์พ.ศ. 2541 - 2542
40. นายชัยรัตน์ มาประณีตพ.ศ. 2542 - 2546
41. นายวรสิทธิ์ โรจนพานิชพ.ศ. 2546 - 2547
42. นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์พ.ศ. 2547 - 2548
43. นายกวี กิตติสถาพรพ.ศ. 2548 - 2550
44. นายประชา จิตสุทธิผลพ.ศ. 2550 - 2551
45. นายเดชา ตันติยวรงค์พ.ศ. 2551 - 2552
46. นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์1 ต.ค. 2552 - ปัจจุบัน

[แก้]การศึกษา

[แก้]ระดับอุดมศึกษา

[แก้]สถาบันอาชีวศึกษา

[แก้]โรงเรียน

[แก้]ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร

[แก้]อาหารพื้นเมือง

[แก้]สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น