วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเทศไทย


ประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรไทย
ธงชาติตราแผ่นดิน
เพลงชาติเพลงชาติไทย
เพลงสรรเสริญพระบารมีสรรเสริญพระบารมี
ตำแหน่งของประเทศไทย (สีเขียว) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สีเทาเข้ม)
ตำแหน่งของประเทศไทย (สีเขียว)
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สีเทาเข้ม)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
กรุงเทพมหานคร
13°44′N 100°30′E / 13.733°N 100.5°E
ภาษาทางการภาษาไทย
การปกครอง
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ(1) และ
ประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา(2)
 - พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
 - นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
สถาปนาเป็น
 - กรุงสุโขทัยพ.ศ. 1792 – พ.ศ. 1981 
 - กรุงศรีอยุธยา3 เมษายน พ.ศ. 1893 – 7 เมษายน พ.ศ. 2310 
 - กรุงธนบุรี28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 – 6 เมษายนพ.ศ. 2325 
 - กรุงรัตนโกสินทร์6 เมษายน พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน 
พื้นที่
 - รวม513,115 ตร.กม. (50)
198,457 ตร.ไมล์ 
 - แหล่งน้ำ (%)0.4
ประชากร
 - 2553 (ประมาณ)65,479,453[1] (20)
 - 2543 (สำรวจ)60,606,947[2] 
 - ความหนาแน่น122 คน/ตร.กม. (85)
316 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ)2551 (ประมาณ)
 - รวม$608.0 พันล้าน[3] (24)
 - ต่อหัว$9,727[3] (83)
จีดีพี (ราคาตลาด)2553 (ประมาณ)
 - รวม$334.026 พันล้าน[3] (30)
 - ต่อหัว$4,954[3] (92)
จีนี (2545)42 
ดพม. (2550) 0.783[4] (ปานกลาง) (87)
สกุลเงินบาท (฿) (THB)
เขตเวลา(UTC+7)
ระบบจราจรซ้ายมือ
โดเมนบนสุด.th
รหัสโทรศัพท์66
(1) รูปแบบรัฐ[5]
(2) รูปแบบการปกครอง
ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือผชิดประเทศพม่าและประเทศลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด[ก]
ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[6] และมีประชากรมากเป็นอันดับ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน[1]กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่[7][8][9][10] โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ[11] ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา,ภูเก็ตกรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ[12] และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 260,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 33 ของโลก
ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[13] นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นยุคสมัยแรกของคนไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก แต่ก็ร่วงโรยลงช่วงหนึ่ง อันเนื่องมาจากการขยายอำนาจของพม่านับแต่ พ.ศ. 2054 ก่อนจะกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้ง ก่อนเสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร ได้นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในช่วงต้นกรุง ประเทศต้องเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติสยามเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา และต้องผ่านสมัยรัฐบาลทหารมานานหลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น